วิวัฒนาการการปกครองของไทยสมัยต่าง
ๆ
ไทยเป็นชาติที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน
แต่เนื่องจากประวัติศาสตร์การปกครองของไทย ได้เริ่มมีหลักฐานเด่นชัดในสมัยกรุงสุโขทัย
ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของการปกครองของไทยจึงจะเริ่มที่สมัยสุโขทัยนี้
สมัยกรุงสุโขทัย การจัดรูปการปกครองเป็น
"พ่อปกครองลูก" พระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง ได้แก่ ประชาชน
มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเสมือนพ่อกับลูก
เมื่อประชาชนมีความเดือดร้อนหรือประสบปัญหาใด ๆ สามารถไปร้องทุกข์ต่อพระเจ้าแผ่นดินโดยตรง
การปกครองแบบนี้ ถือว่าในแต่ละครัวเรือนมีพ่อเป็นหัวหน้าปกครองทุกคนในครอบครัว
หลายครัวเรือนก็จะรวมกันเป็น หมู่บ้านอยู่ในปกครองของ "พ่อบ้าน"
(ปัจจุบันเรียกว่าผู้ใหญ่บ้าน) ประชาชนที่อยู่ในการปกครองเรียกว่า
"ลูกบ้าน" หลาย ๆ หมู่บ้าน รวมกันเป็นเมืองอยู่ในปกครองของ
"พ่อเมือง" หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศอยู่ในปกครองพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเรียกว่า
"พ่อขุน"
ส่วนข้าราชการตำแหน่งต่าง
ๆ เรียกว่า "ลูกขุน"
การปกครองหัวเมือง ได้แบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท
คือ หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และเมืองประเทศราช
หัวเมืองชั้นใน เป็นหัวเมืองสำคัญอันดับหนึ่ง
เป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน และพระองค์ทรงปกครองหรือบัญชาการเองในตำแหน่งจอมทัพ
หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างจากเมืองลูกหลวงออกไป
พระเจ้าแผ่นดินมิได้ทรงปกครองหรือบังคับบัญชาโดยตรง แต่ได้ทรงแต่งตั้งเจ้านายหรือข้าราชการที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครองแทน
เมืองประเทศราช ได้แก่เมืองที่พระเจ้าแผ่นดินอื่นปกครองตนเอง
แต่ต้องจัดการนำเครื่องราชบรรณาการมาถวายตาม
กำหนด เวลาเกิดศึกสงครามต้องยกกองทัพมาช่วยทำการสู้รบกับข้าศึก
สมัยกรุงศรีอยุธยา ไทยได้รับเอาขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ
ตลอดทั้งการจัดรูปการปกครองมาจากขอม รูปแบบการปกครองของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นแบบ
เทวสิทธิ ซึ่งถือว่าพระเจ้าแผ่นดินมีฐานะเป็นเทพเจ้าที่อวตาร (แบ่งภาค)
มาจากสวรรค์ และใช้คำนำหน้าพระนามของพระเจ้าแผ่นดินเป็น "สมเด็จ" อ่าเพิ่มเติม >>
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น